TGI เดินหน้าจัดงาน ‘iMould Die 2023’ ดัน อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทย 

เมื่อเอ่ยถึง อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทย หลายคนอาจยังจินตนาการไม่ออกว่ามีความสำคัญอย่างไร กับ การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย สินธู อู่เงิน ผู้อำนวยการศูนย์แม่พิมพ์และเครื่องมือกล สถาบัน ไทย-เยอรมัน ได้อธิบายให้เห็นภาพสั้นๆ ก่อนว่า

“จริงๆ แล้ว อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทย เป็นอุตสาหกรรมแม่ที่เป็นพื้นฐานของแทบทุกอุตสาหกรรม การผลิตสิ่งของอย่างหนึ่ง เช่น ปากกา แก้วน้ำพลาสติก ไปจนถึง ชิ้นส่วนยานยนต์ ก็ต้องได้รับการออกแบบ แล้วผลิตเป็นแม่พิมพ์ เพื่อฉีดพลาสติกหรือปั๊มขึ้นรูปโลหะ จึงสามารถผลิตเป็นชิ้นงานหรือสินค้าออกมาได้”

และที่ผ่านมา ประเทศไทยก็มีศักยภาพไม่น้อยในอุตสาหกรรมนี้ ทว่า เมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ รวมถึงการดิสรัปในด้านต่างๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การปรับเอาระบบดิจิทัล IIoT หรือ หุ่นยนต์ ทำให้ อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทย ต้องมีการปรับตัว และนี่ก็เป็นเป้าหมายสำคัญที่ทำให้เกิดการจัดงาน งาน iMould Die 2023 โดย สถาบันไทย-เยอรมัน ขึ้น

อัปเดตสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นใน อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทย ในปัจจุบัน

ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีศักยภาพในด้านการเป็นผู้ผลิต “แม่พิมพ์” ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมในระดับใด? ต่อคำถามนี้ คุณสินธู อธิบายเพิ่มเติมว่า

“อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทย อยู่ในระดับกลางคือ เราสามารถผลิตชิ้นงานที่มีความยากอยู่ในระดับกลาง เช่น ชิ้นงานที่เป็นเครื่องมือแพทย์ แต่ถ้าเป็นแม่พิมพ์ที่มีความละเอียดสูงมากอีกขั้นหนึ่ง เช่น แม่พิมพ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดเล็ก หรือชิ้นส่วนที่มีความละเอียดในระดับไมครอน ในส่วนนี้ประเทศไทยยังไม่สามารถทำได้”

“และลักษณะของการผลิตแม่พิมพ์ในเมืองไทยจะเป็นการทำทุกขั้นตอนจบในโรงงานเดียว คือ ในหนึ่งโรงงานจะทำทุกขั้นตอน ตั้งแต่งานออกแบบไปจนถึงทำทุกชิ้นส่วนต่างๆ ของแม่พิมพ์ แล้วค่อยมาประกอบเป็นแม่พิมพ์ นี่เป็นสาเหตุให้การทำแม่พิมพ์หนึ่งชิ้น ใช้เวลาค่อนข้างนาน อย่างเร็ว ก็ประมาณ 2 เดือน ในการที่จะได้แม่พิมพ์ออกมาหนึ่งชุด เพราะว่าสไตล์การทำงานของไทย คือ จะทำเองทุกอย่าง เป็นงาน In-house”

“อย่างไรก็ดี ณ ขณะนี้ เทคโนโลยีการผลิตแม่พิมพ์ได้พัฒนาไปอย่างมาก ยกตัวอย่างที่จีน และ ไต้หวัน อุตสาหกรรมผลิตแม่พิมพ์ที่นั่น ก็จะแค่ออกแบบและจากนั้นก็จะส่งชิ้นส่วนต่างๆ ที่ออกแบบแล้วให้บริษัทข้างนอกเป็นผู้ผลิตออกมา และเมื่อเสร็จแล้วค่อยนำเข้ามาประกอบอีกครั้ง ดังนั้น ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นจะผลิตโดยบริษัทที่มีความถนัดในการผลิตชิ้นส่วนประเภทนั้นโดยตรง ทำให้การผลิตแม่พิมพ์มีความรวดเร็วมากขึ้น”

อัปเดตสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นใน อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทย ในปัจจุบัน

ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีศักยภาพในด้านการเป็นผู้ผลิต “แม่พิมพ์” ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมในระดับใด? ต่อคำถามนี้ คุณสินธู อธิบายเพิ่มเติมว่า

“อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทย อยู่ในระดับกลางคือ เราสามารถผลิตชิ้นงานที่มีความยากอยู่ในระดับกลาง เช่น ชิ้นงานที่เป็นเครื่องมือแพทย์ แต่ถ้าเป็นแม่พิมพ์ที่มีความละเอียดสูงมากอีกขั้นหนึ่ง เช่น แม่พิมพ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดเล็ก หรือชิ้นส่วนที่มีความละเอียดในระดับไมครอน ในส่วนนี้ประเทศไทยยังไม่สามารถทำได้”

“และลักษณะของการผลิตแม่พิมพ์ในเมืองไทยจะเป็นการทำทุกขั้นตอนจบในโรงงานเดียว คือ ในหนึ่งโรงงานจะทำทุกขั้นตอน ตั้งแต่งานออกแบบไปจนถึงทำทุกชิ้นส่วนต่างๆ ของแม่พิมพ์ แล้วค่อยมาประกอบเป็นแม่พิมพ์ นี่เป็นสาเหตุให้การทำแม่พิมพ์หนึ่งชิ้น ใช้เวลาค่อนข้างนาน อย่างเร็ว ก็ประมาณ 2 เดือน ในการที่จะได้แม่พิมพ์ออกมาหนึ่งชุด เพราะว่าสไตล์การทำงานของไทย คือ จะทำเองทุกอย่าง เป็นงาน In-house”

“อย่างไรก็ดี ณ ขณะนี้ เทคโนโลยีการผลิตแม่พิมพ์ได้พัฒนาไปอย่างมาก ยกตัวอย่างที่จีน และ ไต้หวัน อุตสาหกรรมผลิตแม่พิมพ์ที่นั่น ก็จะแค่ออกแบบและจากนั้นก็จะส่งชิ้นส่วนต่างๆ ที่ออกแบบแล้วให้บริษัทข้างนอกเป็นผู้ผลิตออกมา และเมื่อเสร็จแล้วค่อยนำเข้ามาประกอบอีกครั้ง ดังนั้น ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นจะผลิตโดยบริษัทที่มีความถนัดในการผลิตชิ้นส่วนประเภทนั้นโดยตรง ทำให้การผลิตแม่พิมพ์มีความรวดเร็วมากขึ้น”

“และด้วยเทคโนโลยีล่าสุดของทางจีนและไต้หวันนี่เอง ที่มาตีตลาดอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ในไทยไม่น้อย เพราะนอกจากจะมีความรวดเร็วแล้ว ยังมีค่าแรงที่ไม่แพง ตลอดจนค่าวัตถุดิบที่ถูกกว่าเมืองไทยมาก”

“นอกจากนั้น ในส่วนของ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ก็เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ใช้แม่พิมพ์จำนวนมาก เพราะรถยนต์สันดาปในระบบเดิมใช้ชิ้นส่วนยานยนต์ไม่ต่ำกว่า 5,000 ชิ้น และมิหนำซ้ำในแต่ละชิ้นอาจใช้แม่พิมพ์ 2-3 เซต ก็เป็นไปได้ แต่เมื่อเกิดยานยนต์ไฟฟ้า และในตอนนี้ก็เป็นยุคที่เรากำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า จะเหลือชิ้นส่วนอยู่แค่หลักร้อยเท่านั้น”

เปลี่ยนทุกความท้าทายให้เป็นโอกาสในการพัฒนา อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทย ที่ งาน iMould Die 2023

หลังจากได้ชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคและความท้าทายในการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทยแล้ว คุณสินธู ได้แนะนำต่อถึงแนวทางที่เหมาะสมที่จะมีส่วนในการช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทยให้เข้มแข็งขึ้น ดังนี้

“เมื่อทั้งอุปสรรค ความท้าทาย และเทรนด์การผลิตแม่พิมพ์เป็นอย่างที่กล่าวมา ในตอนนี้ ทางสมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย ก็จะวางแนวทางสนับสนุนให้กลุ่มผู้ประกอบการไทย ปรับเปลี่ยนแนวทางการผลิตไปตามเทรนด์นี้ โดยตอนนี้มีความพยายามในการรวมกลุ่ม และจะพยายามกระจายงานเพื่อให้แต่ละบริษัทได้ทำงานที่ตนเองถนัด ซึ่งความท้าทายสำคัญ คือ การพัฒนาการผลิตชิ้นงานให้ได้ตามสเปคที่กำหนดไว้ นั่นเอง”

“ส่วนอุตสาหกรรมฯที่ผลิตแม่พิมพ์ให้โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ก็ต้องมีการปรับไปผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า อาจเป็นโครงแบตเตอรี่ไฟฟ้า และหลายโรงงานผลิตแม่พิมพ์ ก็จำเป็นต้องเอา โรบอต เข้ามาช่วยในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ซึ่งนี่เป็นอีกหนึ่งหลักสูตรสำคัญที่ทาง สถาบันไทย-เยอรมัน ได้เปิดหลักสูตรขึ้น เพื่อให้ความรู้ทั้งผู้ประกอบการและบุคลากรในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ให้ได้ปรับตัว ยกระดับอุตสาหกรรมให้ก้าวทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปให้ได้มากขึ้น”

“หรือในอีกทางหนึ่ง เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทย ก็ต้องมีการปรับเอา ระบบดิจิทัล หรือ IIoT เข้ามาใช้ ซึ่งในจุดนี้จะนำไปประยุกต์ใช้ในส่วนของผู้ใช้แม่พิมพ์ คือ ผู้ที่เอาแม่พิมพ์ไปฉีด ขึ้นรูปเป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์ ซึ่งถ้านำระบบ IIoT นี้ไปใช้ ก็จะใช้ในการมอนิเตอร์การทำงานฉีดพลาสติก หรือปั๊มโลหะให้มีประสิทธิภาพ ลดความสูญเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

“ขณะที่ ในตอนนี้ เทคโนโลยี 3D Printing ก็มาแรง และมีการนำมาปรับใช้ในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์แล้ว ในขั้นตอนของการดีไซน์ในคอมพิวเตอร์ เสร็จแล้วส่งข้อมูลเข้าไปในระบบ 3D Printing ก็สามารถพิมพ์ตัวต้นแบบออกมาได้ โดยไม่ต้องสร้างแม่พิมพ์เพื่อผลิตต้นแบบออกมาแบบเดิมแล้ว ซึ่งช่วยลดเวลา Time to Market ให้กับลูกค้า ให้สามารถทำต้นแบบนี้ออกมาได้ก่อน”

“ดังนั้น กลยุทธ์สำคัญ เร่งด่วนที่จะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยในวันนี้ น่าจะต้องโฟกัสที่การส่งเสริมให้เกิดการยกระดับขีดความสามารถในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยให้ผลิตแม่พิมพ์ที่มีความละเอียด ซับซ้อน ให้ถูกต้อง แม่นยำ มากกว่านี้ โดยเฉพาะชิ้นงานขนาดเล็ก อย่าง Micro Mould คือ งานที่ต้องการความละเอียดสูงในการขึ้นรูปแม่พิมพ์ และนี่คือ แนวทางการพัฒนาที่ต้องใช้ในการดันอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยให้ไปในทิศทางนี้ นั่นเอง”

“ขณะเดียวกัน แต่ละหน่วยงาน อย่าง สถาบันไทย-เยอรมัน เอง ก็ต้องร่วมกับหลายหน่วยงานเพื่อผลักดัน ด้วยการฝึกอบรม เพิ่มทักษะ ให้บุคลากรในบริษัทย่อยๆ สามารถผลิตชิ้นงานได้ตรงตามสเปคที่ผู้ออกแบบตั้งไว้ได้มากขึ้น โดยต้องฝึกอบรมตั้งแต่ในขั้นของการออกแบบไปจนถึงการผลิตชิ้นงานออกมาเลย”

เมื่อแนวทางเป็นเช่นนี้ คุณสินธู เน้นย้ำว่า นี่จึงเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายของการจัด งาน iMould Die 2023 ในปีนี้

“ดังนั้น งาน iMould Die ในปีนี้ จึงเน้นการถ่ายทอด Future Technology หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย เพราะจากผลกระทบ ความท้าทายที่เกริ่นมา ทำให้คนในภาคอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยต้องปรับตัว แต่จะปรับตัวและเดินไปในทิศทางไหน การมา งาน iMould Die ในปีนี้ จะให้คำตอบตรงนี้ได้ ด้วยการจัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย”

สอบถามเพิ่มเติมที่

บริษัท เพรสซิชั่น ทูลลิ่ง เซอร์วิส จำกัด
Tel. 02-3704900 auto 10 lines
Email : info@ptsc.co.th
Line : @ptsc